Business Model Canvas LINE#2 – กลยุทธเปลี่ยนพันธมิตรเป็นลูกค้า

ตอนที่แล้ว ใน LINE ไลน์ กับแนวคิด Freemium และ Network Effect เราวิเคราะห์และเขียนถึงฝั่งขวาทั้งหมดของ Business Model Canvas ซึ่งเราจะสอนในห้องสัมมนาเสมอว่า ทั้งหมดนั้นคือส่วนที่เรียกว่า หน้าบ้าน หรือ คุณค่า ที่ลูกค้ามองเห็นได้จากภายนอก

วันนี้เลยอยากให้มาดูฝั่งซ้าย คือเรื่องของหลังบ้าน หรือระบบภายในที่ทำให้ธุรกิจ LINE เดินหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักมองไม่เห็นชัดเจน เพราะเราอยู่ในฐานะผู้ใช้งานทั่วไป

เริ่มจาก ทรัพยากรหลัก (KR) อะไรคือสิ่งที่ LINE มีและใช้ ในการสร้างคุณค่าและรายได้ ?
LINE เป็นแอ็พพลิเคชั่นที่รวมทุกอย่างไว้ในตัวเองจริง
แถมยังใช้ได้กับทุกเครื่องมือสื่อสารแบบไม่ติดขัดอีกด้วย
ใช่แล้วค่ะ! ทรัพยากรหลัก ของ LINE ก็คือ เทคโนโลยีและระบบที่รวมความสามารถในการทำงานหลายด้านไว้ในแอ็พพลิเคชั่นเดียว

แล้วกิจกรรมสำคัญ (KA) อะไรที่ LINE ต้องทำเพื่อให้สื่อถึงคุณค่าและสร้างรายได้ล่ะ?
จริงๆ มีเพียง 2 อย่าง คือ ทำให้มีคนเข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นๆ ถ้าจำกันได้ช่วงเปิดตัว LINE ใหม่ๆเราจะเห็นกิจกรรมที่ LINE ทำออกสื่อเยอะมาก 

ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาทางทีวี การให้เพื่อนส่งต่อเกมส์คุกกี้รันไปทั่ว (ช่วงนั้นยังงงมาก ว่าส่งมาทำมายยยย) การจัดกิจกรรมนอกสถานที่ที่มีบริษัทที่ LINE เรียกว่า พาร์ทเนอร์ มาร่วมสื่อออกไป เช่น ภาพบนบีทีเอส การให้สติ๊กเกอร์แลกของที่มีตัวการ์ตูนไลน์ติดอยู่ของทางซีพี การจัดกิจกรรมถ่ายภาพและแจกตุ๊กตาและลูกโป่งไลน์ของกลุ่มทรู

มาถึงส่วนสำคัญที่เราจั่วหัวข้อไว้ละ พันธมิตรหลัก (KP)-ใครคือพันธมิตรสำคัญในการทำธุรกิจของ LINE บ้าง?

ตรงนี้เป็นอะไรที่น่าทึ่งมากเพราะ LINE เตรียมรูปแบบหมดแล้ว ว่าตรงส่วนไหนควรมีพันธมิตรและหน้าที่ระหว่างพันธมิตรกับ LINE คืออะไรบ้าง ซึ่งไลน์กำหนดมาแล้ว 5 เรื่อง ตามรูปแบบของระบบ LINE ที่สนับสนุนได้ และยังเปิดโอกาสให้ใครที่มีไอเดียอื่นเสนอสิ่งที่อยากเป็นพันมิตรด้วย

แต่พอลองดูกันจริงๆ พันมิตรทั้งหมดของไลน์ก็คือ ลูกค้าหลักที่สร้างรายได้ให้กับไลน์ อีก 2 กลุ่มนั่นเอง! แต่จะบอกว่าเป็นพันธมิตรก็ไม่ผิด เพราะไลน์อยู่ฝั่งเดียวกับพันธมิตรเหล่านี้ในการช่วยเพิ่มรายได้ด้วย

ในตอนเริ่มแรกถ้าจำกันได้ แบรนด์แรกๆ ที่ใช้บริการไลน์ คือ ให้ไลน์สร้างสติ๊กเกอร์และใช้ Official Account อย่าง การบินไทย และบาบีคิวพล่าซ่า ที่ทางไลน์ยกเป็นตัวอย่างความสำเร็จ (case study) ในการใช้ไลน์ในการทำการตลาด เมื่อการบินไทยให้โปรโมทชั่นพิเศษผ่าน Official Account มีส่วนทำให้มีคนซื้อตั๋วเพิ่มขึ้น 83% และบาบีกอนของแบรนด์บาบีคิวพลาซ่า ที่ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 110% และมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 115% ในช่วงที่ทำการตลาดผ่าน Line Sticker และ Official Account ด้วยการให้เฉพาะลูกค้าที่ทานชุดโปรโมชั่นสามารถโหลดสติ๊กเกอร์มาใช้ได้ (Source: http://www.slideshare.net/)

สุดท้ายของงานหลังบ้าน ก็คือเรื่องโครงสร้างต้นทุน (C$) ซึ่งมีสองส่วนหลัก คือ

  • System platform maintenance – ค่าการบำรุงรักษาระบบต่างที่ซับซ้อนให้ดำเนินไปด้วยดี
  • R&D Create new activities – ค่าการคิดค้นกิจกรรมทางการตลาดและแอ็พพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่พัฒนาออกมาได้น่าทึ่งทุกอัน

เช่น แอ็พพลิเคชั่น ชื่อ Line Out ที่ทำให้เราได้โทรผ่านไลน์ไปยังโทรศัพท์ทั้งบ้านและมือถือในหลายประเทศราคาประหยัด

นี่LINE ใช้รูปแบบธุรกิจเดิมของ Skype แต่เอามาประยุกต์ให้เข้ากับระบบที่ตัวเองมีได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ

ต่อไปก็จับตาดูกันว่า LINE จะมีอะไรใหม่ๆให้เราได้ตื่นตาตื่นใจกันบ้าง

ดาวน์โหลดฟรี
คู่มือการสร้างโมเดลธุรกิจ

ไอเดียต่อยอดธุรกิจ

Case Study

คอร์สประจำเดือน

ติดอาวุธธุรกิจด้วย BMC

เริ่มธุรกิจที่ใช่ ให้ไปรุ่ง

แชทสอบถาม

Scroll to Top