เมื่อวานการจัด BMC Club Meeting ครั้งแรก เป็นไปด้วยดีเกินคาด
Host กิจกรรมแรกของเราคือ คุณสมพร ผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ของเล่น Tooney Toy Museum
ตามกำหนดการเราควรจะ เสร็จ สี่โมงเย็น แต่ด้วยความเป็น ผู้ให้ พี่สมพรได้บอกเล่า เรื่องราว
ที่น่าติดตามทำให้เราอยู่กันถึงสี่ทุ่มเลยทีเดียว
Tooney Toy Museum เปิดมาได้เพียงปีกว่าๆ ก็ได้รับการตอบรับดีเกินคาด
กับคุณค่าที่ให้ลูกค้าคือ คำว่า ความสุข
ตรงนี้ก็ลึกซึ้งแล้ว เพราะ ความสุข หมายถึง การแบ่งปัน การให้ที่ไม่สิ้นสุด และ สิ่งที่ทุกคนต้องการตลอดเวลา
การเดินดู Tooney ให้คำนี้ ตลอดตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้าไปเลย
สิ่งที่มองเห็นคือ เรื่องของราคา ว่าทำยังไงให้เหมาะกับคุณค่า ของสิ่งที่ตั้งใจให้
กับราคาค่าเข้าปัจจุบัน ที่ยังมองว่า ค่อนข้างถูก
แต่ถ้าจะเพิ่ม ก็ยังไม่ได้วัดผลความต้องการชัดเจน
เลยนึกถึงสถานที่หนึ่งซึ่งเคยไปเยี่ยมชมเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และทุกวันนี้จำนวนคนเยี่ยมชมก็ยังคงเท่าเดิม
เพราะเจ้าของต้องการแบบนั้น มีแต่ราคาและจำนวนคนจองเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นตามกาลเวลา!!
ที่แห่งนั้น คือ Ghibli Museum
ถ้าใครเคยดูการ์ตูนญี่ปุ่นที่เป็นภาพยนตร์ คลาสสิก อย่าง
Tonari no Totoro (สัตว์ประหลาดน่ารักในภาพ) Grave of the Fireflies (สุสานหิงห้อย)
ที่นี่คนสร้างตั้งใจให้เป็นมูลนิธิ ราคาจึงไม่สูงมากนัก และ มีช่วงเวลาที่ จำกัดไว้ให้เฉพาะคนในเมืองด้วย เพราะกลัวว่าคนในท้องถิ่นจะไม่ได้มีโอกาสเข้าชม
สิ่งที่โดดเด่นจึงเป็นเรื่องของการจัดการ ความต้องการ “ความสุข” ของผู้คนที่อยากมาเยี่ยมชมมากกว่า
การจัดการDemand จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
แล้วจะจัดการอย่างไร ให้พิพิธภัณฑ์ อยู่ได้ หมายถึง ของไม่เสียหาย และ คนที่มารู้สึกว่าได้ลิ้มรสความสุข?
Demand Management for Maximum value
ที่นี่มีการวัดชัดเจนว่า 1 คนน่าจะใช้เวลาในพิพิธภัณฑ์เล็กๆ แห่งนี้เท่าไร
และ แต่ละช่วง พิพิธภัณฑ์ รับได้จริงๆ ประมาณกี่คน
และช่วงไหนที่คนน้อย ควรมีการปิดปรับปรุง (ปีนึงปิดปรับปรุงยาวๆ 2 ครั้ง)
แล้วก็ไปกำหนดจำนวนที่เหมาะสมในการซื้อตั๋ว คือถ้าเข้าระบบซื้อตั๋วที่เค้าทำไว้ ก็จะให้เราเลือกวันที่จะไป ไว้เลย
ถ้าวันนั้นคนจองเต็มแล้ว เราก็เข้าไม่ได้
แบบนี้ ทั้งคนที่มาและคนทำงานก็มี “ความสุข” เพราะทั้งสองฝ่ายรู้ว่า จะต้องเจอกับอะไรบ้าง และการได้รอคอยวันที่จะมาทำให้คนที่มาเห็นคุณค่า ด้วย
One Powerful Channel through One Partner
ช่องทางการจัดจำหน่ายตั๋วสำหรับในประเทศ จะขายผ่านร้านสะดวกซื้อร้านเดียวคือ Lawson
ที่ญี่ปุ่น ร้านนี้จะมีเครื่องขายตั๋วต่างๆตั้งอยู่ในร้าน
พนักงานไม่ต้องทำไร คนอยากซื้อก็ไปกดๆเอาเอง จ่ายตังค์ผ่านบัตรแล้ว ตั๋วก็จะถูกพิมพ์ออกมาทันที!
การเปิดจองก็มีกำหนดชัดเจนว่า จะเริ่มทุกวันที่ 1 ของเดือนนั้น
ส่วนในต่างประเทศ ก็จะมีเอเจนท์ ที่ขายตั๋วที่ได้รับการแต่งตั้งเฉพาะบางประเทศเท่านั้น (ในไทยไม่มีนะคะ)
CRM & Key Acitivities
การจัดกิจกรรมพิเศษ special exhibition เป็นกิจกรรมที่ทำให้คนอยากไปซ้ำ ด้วยราคาที่ไม่แพงและการสร้างบรรยากาศภายในได้ดีเยี่ยม ที่นี่จัดกิจกรรมให้พิพิธภัณฑ์ มีชีวิต และผู้คนยังคนจำได้ว่า ตัวการ์ตูนในพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นคือ อะไร อย่างเรื่อง Totoro เป็นเรื่องแรก Hayao Miyasaki สร้างออกมาในปี 1982 ก็มีจัดกิจกรรมและเล่าเรื่องราว ให้ตัวการ์ตูนตัวนี้ไม่แก่เลย คนรุ่นหลังก็รู้จักด้วย ที่นี่ภายในมีโรงภาพยนตร์ ขนาดย่อม เพื่อฉายการ์ตูน ที่สร้างพิเศษ สั้นๆ ให้คนอยากเข้าไปดู ตอนพิเศษของการ์ตูนที่ชื่นชอบด้วย
CRM
ไม่จำเป็นต้องส่งจดหมาย ไมต้องส่งอีเมล์ ไม่มีโฆษณา ไม่มี fan page แต่ มีคนอยากไปซ้ำตั้งแต่เดินออกมาจากพิพิธภัณฑ์แล้ว
เพราะ
Key Activities
ทั้งหมดที่สอดคล้องกับ คุณค่า คือ “ความสุข” ดึงดูดให้คนต้องการแบบไม่สิ้นสุด
คิดแล้ว ถ้ามีโอกาส น้ำยังอยากไปอีกครั้งเลย!!
ถ้าเป็นคุณล่ะ? ถ้ามีโอกาสคุณอยากกลับไปอยู่ในช่วงเวลาแห่งความสุขในวัยเด็กไหม?
Email: [email protected]
LINE-ID: @bmcthai
FB: Business Model Canvas Thailand
Youtube: BMC Thailand