สร้าง Content อย่างไรให้ปัง ?? (ตอนที่ 2 )

มาต่อกันตอนที่ 2 กับการสร้าง Content ให้ปัง

กับส่วนที่เหลืออีก 4 ข้อ จาก 7 ข้อ ท่านที่ไม่ได้อ่านตอนที่ 1 ก็ไปย้อนอ่านได้ที่

http://businessmodelrecipe.com/2016/07/content1/

ทวนกันนิดนึงจากตอนแรกที่เริ่มจากความคิดในการทำคอร์สออนไลน์ (หรือ การจะสร้าง คอนเทนท์)

เราต้องถามตัวเองในหัวข้อต่อไปนี้

  1. คาดหวังอะไรจากการทำคอร์สออนไลน์?
  2. กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร?
  3. ทำไมคนถึงต้องเสียเงินซื้อคอร์สเรา?
  4. คู่แข่งของเราเยอะไหม?
  5. เราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร?
  6. การนำเสนอของเราเป็นอย่างไร?
  7. มีแบรนด์รึยัง?

เรามาต่อกันที่ ข้อ 4 นะคะ ^^

       4.คู่แข่งของเราเยอะไหม?

นั่นสิ! ขอยกเรื่องที่ อ.เปี่ยมเล่าสำหรับกรณีของตัวท่านเองที่คิดจะเขียนหนังสือเรื่องสามก๊ก ณ ตอนนั้น ท่านก็มองไปในตลาดว่า มีคนที่เขียนเรื่องนี้อยู่แล้วกี่คน แล้วถ้าท่านจะเขียนจะมีมุมไหนที่แตกต่างบ้าง? ตรงนี้เลยขอรวบยอดกับข้อ 5 ต่อเลยนะคะ

      5.เราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร?

อ.เปี่ยมบอกว่า ของเหมือนเดิมก็เรื่องเดิม แต่ ถ้าเรามองมุมใหม่ก็จะได้เรื่องใหม่ คอร์สบางครั้งที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดิมแต่ขายได้อาจจะเป็นเพราะคนทำเค้า repackage เก่ง  อ.เปี่ยม ยกตัวอย่างว่า ยังไม่มีท่านไหนในตอนนั้นเขียนเรื่องมุมมองการตลาดจากสามก๊กท่านก็เลยเลือกเรื่องนี้

คราวนี้น้ำขอเทียบการเรื่องของการทำธุรกิจบ้างซึ่งใช้วิธีคิดแบบเดียวกันได้เลย ตั้งแต่การมองในตลาดว่า สินค้า หรือ บริการนี้ที่เราทำมีคนที่ทำอยู่แล้วเยอะแค่ไหน และที่สำคัญใครเป็นเจ้าตลาดในเรื่องนี้กันอยู่บ้าง แล้วเจ้าตลาดเค้าขายแบบไหน ขายให้ใคร

อันนี้ขอยกตัวอย่างของพี่ท่านหนึ่งที่ประสบความสำเร็จจากการทำ keycard โรงแรมด้วยการไปดูความต้องการของพวกโรงแรมม่านรูด และก็มองเห็นว่า ไม่ค่อยมีบริษัททำตลาดตรงนี้ ในตลาดเจ้าที่ทำเป็นแบรนด์ต่างชาติที่ทำสเกลใหญ่ ไม่ได้มาทำแบบเฉพาะเจาะจงให้ทีละโรงแรม ฟังแล้วก็คล้ายกันกับวิธีคิดที่ อ.เปี่ยมเลือกหัวข้อมาเขียนหนังสือ

คือ เรามองไปในตลาดแล้วดูว่ามีใครทำสิ่งที่เราคิดจะทำมั้ย? (แน่ละ ว่ามี!) แต่ว่า มีอยู่แบบไหนล่ะ? พวกเบอร์หนึ่ง เบอร์สองเค้าทำอะไร ขายใคร ที่ไม่น่าแปลกคือ ทุกธุรกิจที่เราเห็นคนเบอร์หนึ่ง เบอร์สองเค้าทำกัน มักจะมีรายย่อยๆ ทำอยู่ เพราะ ตลาดมีขนาดใหญ่ มีช่องว่างที่รายใหญ่ไม่เลือกทำ เพราะทำแล้วไม่คุ้ม เจ้าของกิจการSMEs หลายธุรกิจเห็นช่องว่างเหล่านี้ บางรายที่ไม่เลือกสร้างอะไรใหม่เองก็ประสบความสำเร็จจากการไปเป็น outsource ให้กับรายใหญ่ในตลาดซะเลย

ใช่แล้ว! ทุกอย่างอยู่ที่มุมมอง เราจะมองคนที่อยู่ในตลาดเดียวกับเราว่า เป็น “คู่แข่ง” หรือ เป็น “คู่ค้า” ก็ได้

อีกเรื่องที่ชอบคือ การสร้างความแตกต่าง ที่ อ.เปี่ยม บอกว่า

ของเหมือนเดิมมองมุมเดิมก็เป็นเรื่องเดิม แต่ถ้าเรามองมุมใหม่มันก็เป็นของใหม่

นี่คล้ายกับหลักอันหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมเลยล่ะ

คือ การทำสิ่งที่เรียก ว่า combine คือเราลองมองดูสิ่งที่มีรอบตัวแล้วเอามันมาปรับผสมเข้าด้วยกันก็จะเกิดของสิ่งใหม่

ในตัวอย่าง อ.เปี่ยม เล่าว่า ท่านเลือกเขียนเรื่องการตลาดจากสามก๊ก

ถ้าเป็นเรื่องของธุรกิจ ก็จะนึกถึงการรวมกัน ของ

กาว+กระดาษ>> กระดาษ post-it

กระเป๋า+ล้อลาก>> กระเป๋าเดินทาง

เราลองมองดูอีกทีว่า Key Resource หรือ สิ่งที่ธุรกิจเรามีแต่ละอย่าง พอจะเอามาผสม แล้วทำให้เกิดสินค้า หรือ บริการใหม่อะไรได้บ้าง?

          6.การนำเสนอของเราเป็นอย่างไร?

อ.เล่าเป็นเชิงเปรียบเทียบว่าในเรื่องของการสอน วิทยากรบางท่านก็ไม่ได้เก่ง เนื้อหาก็ธรรมดา แต่ขายได้ เพราะคนดูที่ภาพลักษณ์ มีเสียงแย้งจากเพื่อนๆในห้องตรงจุดนี้ว่า ถ้าแค่ภาพลักษณ์ดี แต่พอคนไปเรียนแล้วไม่ดี ครั้งต่อไปก็ขายไม่ได้อยู่ดี!

จึงทำให้เพื่อนในห้องท่านหนึ่งแชร์เป็นคำคมที่น่าคิดว่า

“ภาพลักษณ์ดีๆ ยังขายของห่วยๆ ได้ครั้งหนึ่ง

แต่ภาพลักษณ์ห่วยๆ ขายของดีๆ ไม่ได้เลย!”

พอฟังแล้วก็จริงนะ… ภาพลักษณ์จึงเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ไปซะแล้วสำหรับยุคนี้

ถ้ากลับมาเทียบกับเรื่องของธุรกิจ ก็อย่างที่เราเห็นกันที่น้ำเคยเล่าว่า

ของดี ไม่จำเป็นต้องขายได้ และของที่ขายได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นของดี

ทุกอย่าง การตลาด สร้างขึ้นมาทั้งน้านนน

การตลาด ก็คือ การสร้างภาพ ส่วนความจริงนั้น เราก็ต้องพิสูจน์เอาเอง

เรามักพยายามอยากจะหาเสียงสนับสนุนที่มั่นใจได้มากหน่อยว่า ไม่หลอกเราแน่ ในการเปรียบเทียบก่อนซื้อใช่มั้ย

นั่นล่ะ เลยทำให้เหล่า นักรีวิว สินค้า รวยจากค่าจ้าง รีวิว และ มีเน็ตไอดอลเกิดขึ้นเยอะแยะ เพราะนักการตลาดเค้าก็เข้าจะธรรมชาติของผู้ซื้อเช่นกัน เว็บที่เราเข้าไปอ่าน ความเห็นต่างๆ ลองพิจารณาดีๆ ว่าใครกันแน่ที่สร้างหัวข้อเหล่านี้ขึ้นมา และ ใครจะได้ประโยชน์จากเขียนถาม-ตอบสิ่งเหล่านี้

             7.มีแบรนด์รึยัง?

ตรงนี้ อ.เปี่ยม ยกตัวอย่างเรื่อง personal branding ว่าทุกคนมีแบรนด์ของตัวเองตั้งแต่เกิด

ทำให้น้ำนึกถึง ว่า บ้านเรานี่เน้นเรื่อง personal branding กันมากเลยเนอะ (จากตรงนี้ไปจะเป็นความเห็นของน้ำล้วนๆ)

เรื่องของการสอน สำหรับท่านที่เป็นวิทยากร  personal branding เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องที่สร้างเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

แต่สำหรับการทำธุรกิจแล้ว บางทีอาจไม่จำเป็นเสมอไป

ลองดูพวกแบรนด์ระดับโลกที่อยู่มานานเกินร้อยปี เราจะไม่ได้ยินเรื่องนี้เลย คือเราจะไม่รู้เลยว่าเจ้าของบริษัทที่สินค้าสำเร็จระดับโลก เช่น โค้ก  ฟิลิป เชล คือใคร? ไม่ได้มีการโปรโมทมากมายเรื่องของเจ้าของสินค้า หรือ ผู้สร้างแบรนด์มากนัก (ก็แน่สิ เพราะเค้าเหล่านั้นจากโลกนี้ไปละ!) ตอนที่เรียนเรื่องการทำให้ธุรกิจยั่งยืน มีบทเรียนหนึ่งบอกว่า ให้เน้นไปที่ corporate brand หรือ บริษัท เพราะอยู่ได้ยาวนานกว่า และทำให้ผู้คนรักองค์กรและทำเพื่อองค์กร

แต่ดูเหมือนวิธีคิดนี้จะเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมี Steve Jobs แห่ง  Apple และ Mark Zuckerberg แห่ง Facebook ที่มีการทำภาพยนตร์ชีวประวัติของพวกเค้าออกมา โดยเฉพาะกรณีของสตีฟ ทำให้หลายแห่งเอาไปสอนเรื่อง

Personal brand>> Product brand>> Corporate brand ด้วยการเอาเคสของ

Steve Jobs >>  Iphone>>  Apple  เป็นตัวอย่าง

 

แต่ถ้าในมุมมองของน้ำนะ

การทำ personal branding และ product branding ไม่ยั่งยืนเลย

เพราะอะไรน่ะเหรอ?

เพราะทั้งคนและสินค้ามีโอกาสเสื่อม โดยเฉพาะ คน เสื่อมเร็วมากกกกก….(ไม่ได้ว่าใครนะคะ)

หมายถึง หลักการทางพระพุทธศาสนาที่เราทราบกันดี

คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

เพราะงั้นถ้าเน้นไปที่ คน อายุของ brand ก็คงไม่นานมาก

….ก็ขึ้นอยู่กับอายุผู้ก่อตั้งด้วยเนอะ อย่างถ้าเป็นพี่มาร์ค ก็คงอยู่ได้อีกนานพอควร…

แต่อย่างกรณีของสตีฟ น้ำว่า การไปยึดติดเค้า ทำให้คนไม่มากก็น้อย น่าจะสงสัยละ ว่าพอเค้าจากไปแล้ว นโยบายต่างๆของทางบริษัทจะเป็นอย่างไร? (ซึ่งถ้าดูตอนนี้ก็เหมือนว่าแอปเปิ้ล จะไม่ได้เป็นผู้นำตลาดอย่างโดดเด่น เหมือนตอนสมัยที่สตีฟยังมีชีวิตอยู่)

ข้อเสียอีกเรื่องคือการเน้นที่ personal brand ทำให้คนคนนั้น ต้องคอยรักษาภาพลักษณ์ให้เป็นแบบนั้นไว้ตลอด

การทำอะไรที่ผิดเพี้ยนไปอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์บริษัทได้ และ ก็ถูกโจมตีได้ง่ายเพราะเป็นเป้าสายตา อย่างกรณีในไทยที่เราเห็น ชัดๆ ก็ คือ คุณตัน อิชิตัน ที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ ที่เหล่านักการตลาดสร้างไว้อยู่ตลอดเวลา

สุดท้ายสำหรับข้อเสียของการทำ personal brand แบบเน้นตัวเจ้าของธุรกิจก็คือ ใช้เวลาในการทำให้คนรู้จักและติดตลาดนานกว่า การใช้ดารา หรือ พุ่งไปเรื่องข้อดีของสินค้าเลย (คิดดูสิ กว่าคุณตันจะมาถึงจุดนี้ต้องทำอะไรบ้าง?)

แต่ข้อดีก็มีนะ กรณีที่ผู้ก่อตั้งเป็น personal brand ให้กับสินค้าตัวเอง เช่น

  • ประหยัดงบ แน่ละ เพราะคุณไม่ต้องไปจ้างใครที่ไหน
  • ความแตกต่าง ใช่แล้วเพราะมีแค่คุณที่เป็น brand ambassador ให้สินค้าคุณเอง ไม่ต้องไปใช้ดาราที่เค้าใช้กันจนงงว่าของสินค้าอะไรกันแน่

เขียนไปยืดยาว สรุปเรื่องการสร้างคอนเทนท์ หรือ การสร้างเนื้อหาให้ปัง เราก็ต้องถามตัวเอง 7 ข้อนี้ละ ว่า เรามีหรือไม่?

ถ้าคำตอบคือ มีครบ คุณก็คงจะชัดเจนในแนวทางที่ทำมากขึ้น แต่ ถ้าคำตอบของคุณ คือ ยังไม่มีในข้อไหน ก็แนะนำว่า ให้ลองไปหาคำตอบดู แล้วการสร้างคอนเทนท์ของคุณก็จะมีโอกาส “ปัง !” จากความชัดเจนในกลยุทธ์การตลาดของคุณเอง.

ยังมีเรื่องเล่าอีกหลายส่วนและอีกหลายแนวคิดที่ได้จากการเรียนกับ อ.เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป จากเวลาสั้นๆ ที่เรียนกันเพียง 3 ชั่วโมง น้ำชอบนะ คอร์สการเรียนรู้ด้วยเวลาอันสั้นเนี่ย!

ขอบคุณท่านอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้ นะคะ

——————————————————–

“การเรียนไม่ใช่แค่เพื่อรู้ แต่เพื่อให้เราไปลงมือทำ”

หวังว่า หลังจากการอ่านบทความนี้แล้วหลายท่านจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปลงมือทำ เพื่อพัฒนาธุรกิจกันนะคะ

——————————————————–

บทความนี้เป็นเรื่องของมุมมองส่วนตัวน้ำนะ ถูกบ้าง ผิดบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละท่านนะคะ

น้ำใส@ 10.7.16

ดาวน์โหลดฟรี
คู่มือการสร้างโมเดลธุรกิจ

ไอเดียต่อยอดธุรกิจ

Case Study

คอร์สประจำเดือน

ติดอาวุธธุรกิจด้วย BMC

เริ่มธุรกิจที่ใช่ ให้ไปรุ่ง

แชทสอบถาม

Scroll to Top